.
พาราเบน (paraben) เป็นหนึ่งใน สารกันเสีย ที่นิยมใส่ในเครื่องสำอางและ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น
- แชมพู
- ครีมนวดผม
- แฮร์โทนิก
เพราะมีราคาถูก สามารถยับยั้งแบคทีเรีย,เชื้อราและยีสต์ อันเป็นสาเหตุของการเสียเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ เวลาใช้เป็นประจำเปิดปิดบรรจุภัณฑ์บ่อยๆ หรือใช้นิ้วควัก สัมผัสเนื้อผลิตภัณฑ์ ทำให้ง่ายต่อการปนเปื้อนเชื้อ แล้วทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย พาราเบนจึงมักถูกนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้
.
.
เมื่อผิวหนังดูดซึมสารพาราเบน อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง อาการภูมิแพ้สัมผัส และและด้วยคุณสมบัติของสาร Paraben ที่ออกฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) อาจส่งผลกระทบกับระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักแสดงความเป็นชาย
.
พาราเบนอันตรายจริงหรือ?
ระยะหลัง เริ่มมีรายงานการวิจัยถึงความเป็นพิษของพาราเบนออกมาเรื่อยๆ เช่น
- พาราเบนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศ
- มีรายงานความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวการณ์แท้งบุตร
- เสปิร์มไม่แข็งแรง
- เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง
- รวมถึงรายงานน่าสนใจที่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด ถึงความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งเต้านมด้วย
โดยเกิดผ่านกลไกการเปลี่ยนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดนี้ยังต้องการผลการวิจัยมากขึ้นในอนาคตเพื่อยืนยันความปลอดภัยหรือความเสี่ยงของการใช้สาร Paraben ด้วย
.
.
แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข ยังอนุญาตให้ใส่สารพาราเบนในเครื่องสำอางได้อยู่ โดยมีปริมาณไม่เกิน ร้อยละ 0.25
ดังนั้นในผู้บริโภคที่มีปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะ และมีภาวะไวต่อ Paraben จำเป็นต้องสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมเป็นด้วยตนเอง
อันดับแรก อาจสังเกตฉลากว่ามีการระบุปราศจากพาราเบน (Paraben Free) หรือไม่ นอกจากนี้ยังปราศจากสารอันตรายอย่างอื่น และ สารตกค้างอย่างอื่นด้วยหรือไม่
วิธีดูฉลากว่ามีสารพาราเบนหรือไม่
นอกจากนี้ ให้ดูสารกลุ่มพาราเบนที่แฝงมาที่ฉลากข้างขวดแชมพู ครีมนวดผม แฮร์โทนิก ให้ดูว่าในส่วนของส่วนผสมมีระบุสารชื่อดังต่อไปนี้หรือไม่ Methylparaben , Ethylparaben , Propylparaben , Butylparaben, Isobutylparaben, Isobutylparaben เป็นต้น
ถึงแม้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามใช้ Paraben หรือข้อมูลสนับสนุนเรื่องพิษยังไม่มากพอที่จะสรุปถึงพิษของ Paraben แต่สำหรับในหลายประเทศผู้บริโภคที่มีความกังวลสารปนเปื้อน
สารก่อให้เกิดการแพ้ หรือระมัดระวังเรื่องมะเร็ง มีการตื่นตัวศึกษาเรื่อง Paraben กันมากขึ้นและผู้ผลิตเองก็เริ่มให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากขึ้น โดยพยายามคิดค้นสารธรรมชาติหรือ
สารอื่นๆเพื่อใช้ทดแทนพาราเบนดังกล่าว
แต่ในฐานะผู้บริโภคคนไทย หากเรามีความกังวลสามารถเลือกซื้อโดยดูจากฉลากผลิตภัณฑ์ ว่ามีสารชื่อดังกล่าวมาแล้วข้างบนหรือไม่ ก็สามารถช่วยตัดสินใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ปราศจากสารกันเสีย Paraben ได้ครับ
.
ด้วยความปรารถนาดี
NAWATTRA
สมุนไพรว่านมหาเมฆต้านศรีษะล้าน ที่ปราศจากสารกันเสียกลุ่ม Paraben
Leave A Comment